วันหนึ่ง คนไทย ต้องได้รับแคลเซียม 800-1,500 มก.แต่ปัจจุบัน คนไทยได้รับแคลเซียมเฉลี่ยเพียง 361 มก.เท่านั้นซึ่งไม่เพียงพอ หากร่างกายเราได้รับ แคลเซียมไม่เพียงพอ ร่างกายจะดึงแคลเซียมที่สะสมในกระดูกมาใช้ เมื่อเกิดขึ้นเป็นประจำ แคลเซียมถูกดึงออกมาใช้มากจนกระทั้งกระดูกพรุน เปราะบางทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลง แตกหักได้ง่ายแม้จะได้รับการกระแทกเพียงเล็กน้อย ซึ่งอาการเหล่านี้ เป็นอาการของโรค กระดูกพรุน
โรคกระดูกพรุน หรือ โรคกระดูกโปร่งบางคือภาวะที่เนื้อกระดูกลดลง และมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ภายในของกระดูกส่งผลให้กระดูกบางลงทำให้มีโอกาสที่จะเกิดกระดูกหักได้ง่าย ขึ้น ในระยะแรกโรคนี้จะไม่แสดงอาการออกมา จนกระทั่งมีความรุนแรงมากขึ้น จึงแสดงอาการออกมา เช่น ปวดหลังเรื้อรัง หลังค่อมเนื่องจากการยุบตัวของกระดูกสันหลัง หรือกระดูกสะโพกหัก ทำให้เดินไม่ได้เหมือนเดิม และเกิดภาวะแทรกซ้อน อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
ในวัยเด็กปริมาณเนื้อกระดูกจะค่อย ๆเพิ่มขึ้นจนสูงสุดเมื่ออายุประมาณ 30-35 ปี หลังจากนั้นเนื้อกระดูกจะ ลดลงอย่างช้าๆ สำหรับผู้หญิง เมื่อย่างเข้าสู่วัยทอง ประจำเดือนจะมาไม่สม่ำเสมอ หรือ อาจหมดไป ทำให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ส่งผลให้ การสลายแคลเซียมออกจากกระดูกมากขึ้น ทำให้ปริมาณเนื้อกระดูกลดลงผู้หญิงจะสูญเสียเนื้อกระดูกมากกว่าผู้ชายถึง 2 - 3 เท่า จึงส่งผลให้เข้าสู่ภาวะกระดุกพรุนได้ง่ายขึ้น
อาหารเสริมแคลเซียม (Calcium) ป้องกันโรคกระดูกพรุนได้
Posted by
Unknown
วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
0 comments