โรคภูมิแพ้ คือ ภาวะโรคที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีปฏิกิริยาต่อสารแปลกปลอมที่ เข้าสู่ร่างกายที่คนปกติทั่วไปไม่มี อาการจะเกิดขึ้นเมื่อคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ไปสัมผัสหรือรับเอาสารที่แพ้เข้าไป ในร่างกาย โรคภูมิแพ้เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนไทย ปัจจุบันความชุกของโรคกลุ่มนี้มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โรคภูมิแพ้เป็นกลุ่มของโรคที่มีอาการแสดงได้หลายระบบ โรคที่จัดว่าอยู่ในกลุ่มโรคภูมิแพ้ ได้แก่
- โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้
บางคนเรียกว่า "ไข้ละอองฟาง" ( hay fever) แต่คนทั่วไปเรียกโรคนี้ว่า "โรคแพ้อากาศ" ความจริงไม่ใช่การแพ้อากาศ แต่เป็นการแพ้สารบางอย่างในอากาศ เมื่อผู้ป่วยสูดเอาสารที่ตนแพ้เข้าร่างกาย จะมีอาการน้ำมูกไหล คัดแน่นจมูก คันในจมูก จามติดกันหลาย ๆ ครั้ง คันในลำคอและมีน้ำตาไหล อาการอื่น ๆ เช่น หูอื้อ ปวดหู มึนศีรษะ น้ำมูกไหลลงคอ เสมหะติดในคอ อาการดังกล่าวอาจเป็นเฉพาะฤดูกาล สาเหตุมักเกิดจากการแพ้สารที่มีในฤดูกาลนั้นๆ
- โรคหืด
เป็นโรคที่หลอดลมของผู้ป่วยไวต่อสิ่งที่ มากระตุ้นมากกว่าปกติ ทำให้หลอดลมตีบเนื่องจากกล้ามเนื้อรอบหลอดลมเกิดการหดเกร็ง ผู้ป่วยจะมีอาการไอ หอบ แน่นหน้าอก มีเสมหะมากและผนังหลอดลมบวม การหดเกร็งของหลอดลมนี้เกิดเป็นครั้งคราว ขณะเกิดอาการทำให้การหายใจลำบากขึ้น จึงเกิดอาการหอบ อาจได้ยินเสียงหายใจดังวี้ดๆได้ อาจเป็นตอนออกกำลังกาย ตอนกลางคืน หรือตอนเป็นหวัดก็ได้
- โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (atopic eczema) โรคผื่น เอ็กซีมา (atopic eczema) หรือ โรคผื่น ภูมิแพ้ผิวหนัง
เป็นโรคที่มีผื่นของผิวหนัง ซึ่งมักเกิดในบุคคลที่มีแนวโน้มในการแพ้ ผู้ป่วยบางรายมีอาการหอบหืด และจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ร่วมด้วย โรคนี้อาจเกิดได้กับเด็กเล็กแม้เพียงอายุ ๒-๓ เดือน สำหรับเด็กเล็กนี้ผื่นมักเกิดที่บริเวณหน้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งแก้มทั้งสอง ข้าง ศีรษะเป็นผื่นแดงคัน อาจมีน้ำเหลืองซึม และจะเกิดเป็นสะเก็ด มีอาการคันมาก หากเป็นนานๆ ผิวหนังจะแห้งและหนาขึ้น อาการจะกำเริบเป็นครั้งคราว ไม่ทราบสาเหตุของโรคนี้แน่นอน ในเด็กเล็ก อาหารบางชนิด เช่น ไข่ นม อาจทำให้ผื่นเห่อขึ้นในบางราย และสิ่งระคายผิวหนังก็ทำให้อาการรุนแรงขึ้น
- ลมพิษ
เป็นปฏิกิริยาของเส้นเลือดในชั้นบนของผิว หนัง ผื่นมีลักษณะเฉพาะ คือ เป็นผื่นแดงนูน มีขอบเขตชัดเจน เป็นรอยหยักนูนขนาดต่างๆ กัน และคันมาก ถ้าปฏิกิริยาเกิดขึ้นใต้ผิวหนังจะทำให้เกิดการบวมเฉพาะที่ซึ่งอาจเกิดขึ้น ได้เสมอกับผู้ที่เป็นลมพิษ
- ผื่นแพ้ผิวหนังจากการสัมผัส
เป็นการอักเสบของ ผิวหนังที่เกิดจากการสัมผัสกับสารที่ผู้ป่วยแพ้ ส่วนใหญ่เป็นสิ่งของที่สัมผัสเป็นประจำ ปฏิกิริยามักเกิดขึ้นหลังสัมผัสกับสารนั้นประมาณ ๖-๔๘ ชั่วโมง ที่ผิวหนังจะมีผื่นบวม แดง คัน มีน้ำเหลืองซึม หรือมีเม็ดตุ่มใส และจะเกิดเฉพาะบริเวณที่สัมผัสกับสารนั้นเท่านั้น มักเห็นเป็นรอยชัดเจนพอที่จะทำให้นึกถึงสาเหตุได้ สาเหตุที่พบได้บ่อย ได้แก่ เครื่องสำอาง เครื่องประดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สิ่งที่มีส่วนผสมของนิกเกิล นอกจากนี้ ผงซักฟอก ยาย้อมผม รองเท้า ปูนซีเมนต์ สีผึ้งทาปาก และยาต่างๆ ล้วนอาจเป็นสาเหตุได้ทั้งสิ้น
- แพ้อาหาร
อาหารอาจก่อให้เกิดการแพ้และแสดงอาการ ได้หลายระบบอวัยวะ อาจก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด อาจแสดงอาการทางผิวหนัง เช่น เกิดลมพิษ อาจแสดงอาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง อุจจาระร่วง อาหารที่เป็นสาเหตุของการแพ้บ่อยในวัยทารก คือ นมวัว
- เยื่อบุตาอักเสบจากการแพ้
มีอาการแสบตา คันตา ตาแดง น้ำตาไหล ขยี้ตาบ่อย เปลือกตาบวม
สารก่อภูมิแพ้คืออะไร
คือ สารที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการของโรคภูมิแพ้ ซึ่งอาจเป็นสารที่ร่างกายได้รับโดยการ ฉีด กิน หายใจ หรือสัมผัสก็ได้ มีทั้งสารก่อภูมิแพ้ในบ้าน เช่น ไรฝุ่น แมลงสาบ ขนและรังแคของสัตว์เลี้ยง เชื้อรา ควันบุหรี่ ฯลฯ และสารก่อภูมิแพ้นอกบ้าน เช่น เกสรหญ้า เกสรดอกไม้ ควันและฝุ่นต่าง ๆ เป็นต้น
การวินิจฉัย
- การซักประวัติ ตรวจร่างกายและอาจต้องใช้ข้อมูลจากห้องปฏิบัติการทางหู คอ จมูก โดยละเอียดด้วยเพื่อค้นหาโรคแทรกซ้อน เช่น ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ เป็นต้นสิ่งที่สำคัญคือ การสังเกตของผู้ป่วยเองอย่างละเอียดถี่ถ้วนว่า อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นน่าจะสัมพันธ์กับสิ่งใด
- การทำ Skin Test เพื่อยืนยันการวินิจฉัย และมีประโยชน์ในการรักษาเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ได้อย่างถูกต้อง
การรักษาโรคภูมิแพ้
โรคภูมิแพ้อากาศ เป็นโรคที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รักษายากและเรื้อรัง เช่น ไซนัสอักเสบ , หูชั้นกลางอักเสบ , หอบหืด เป็นต้น ซึ่งถ้าได้รับการรักษาและป้องกันตั้งแต่แรกเริ่มจะป้องกันการเกิดโรคแทรก ซ้อนได้ดีที่สุด
- การหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ เช่น ฝุ่น , ไรฝุ่น , ขนสุนัข , ขนแมว , แมลงสาบ ฯลฯ จัดเป็นการรักษาและป้องกันที่ดีที่สุด
- เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโดยการออกกำลังกายเป็นประจำ
- หลีกเลี่ยงสารระคายเคือง เช่น ควันธูป , ควันบุหรี่ , ท่อไอเสียรถยนต์ ฯลฯ
- ในกรณีที่พยายามหลีกเลี่ยง และพยายามออกกำลังกายแล้วอาการยังมีอยู่แนะนำให้พบแพทย์เฉพาะทางและรับการรักษาดังนี้
- การให้ยาต้านฮีสตามีนแบบรับประทาน
- การให้ยาพ่นจมูกเป็นประจำเพื่อป้องกันการเกิดภูมิแพ้
- การให้การรักษาโดยวิธี Desensitization ( การให้วัคซีนภูมิแพ้ ) เป็นการรักษาโรคภูมิแพ้ที่ต้นเหตุ และพบว่ามีอัตราการหายขาด 60–80 %
- ในรายที่มีโรคแทรกซ้อนของภูมิแพ้ เช่น ไซนัสอักเสบ , หูชั้นกลางอักเสบ ให้รีบรับการรักษาที่ถูกต้องโดยแพทย์เฉพาะทาง
การป้องกันโรคภูมิแพ้ด้วยโปรไบโอติก
มีการศึกษาที่ประสบความสำเร็จในการใช้เชื้อจุลินทรีย์ Lactobacillus GG ในการรักษาเด็กที่เป็นโรคภูมิแพ้เรื้อรัง พบว่าสามารถลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคภูมิแพ้ได้โดยผลชี้ให้เห็นว่า
โปรไบโอติกอาจเข้าไปช่วย ปรับสภาพภูมิต้านทานในร่างกาย เปลี่ยนแปลงระบบภูมิคุ้มกันในรูปแบบของการเพิ่มระดับการขับสารต่อต้านเชื้อ โรคในร่างกายช่วยลดการอักเสบ ช่วยให้ปัญหาภูมิแพ้ลดน้อยลง
0 comments