ท้องเสียแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
- ท้องเสียเนื่องจากได้รับสารพิษจากเชื้อ
- ท้องเสียเนื่องจากการติดเชื้อ
- ท้องเสียธรรมดาซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อหรือสารพิษจากเชื้อ
- ท้องเสียจากการได้รับสารพิษจากเชื้อ มักจะเกิดจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนสารพิษที่มาจากเชื้อโรคเข้าไป ผู้ป่วยมักจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนและถ่ายเหลวหลังจากรับประทานอาหารประมาณ 2-4 ชั่วโมงเรียกว่ากินเข้าไปไม่นานก็มีอาการแล้ว แต่มักจะไม่มีไข้
- ท้องเสียเนื่องจากการติดเชื้อนั้นผู้ป่วยจะมี อาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือมีไข้ร่วมกับการถ่ายเหลวซึ่งลักษณะของอุจจาระจะแปลกไปจากท้องเสียทั่วไป เช่น ถ่ายเป็นมูกหรือมูกปนเลือด บางรายอุจจาระจะคล้ายน้ำซาวข้าวและถ่ายพุ่ง หรือบางรายอาจถ่ายออกมามีกลิ่นเหม็นผิดปกติ เช่น เหม็นเหมือนหัวกุ้งเน่า เป็นต้น
- ท้องเสียธรรมดา เพียงแค่ถ่ายเป็นน้ำ ไม่มีอาการดังที่กล่าวไว้ในการท้องเสียสองประเภทแรกก็จะเป็นการท้องเสีย ธรรมดา
การวินิจฉัย
จะเห็นได้ว่า โรคต่างๆที่กล่าวมาแล้วล้วนทำให้ท้องเสียทั้งสิ้น เราไม่สามารถวินิจฉัยว่า อาการท้องเสียเกิดจากอะไร หากเราไม่ได้ทำการตรวจอุจจาระทางห้องทดลอง เมื่อเราไม่รู้สาเหตุ การรักษาก็จะได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร เพราะการรักษาแต่ละโรคนั้น จะต้องมีการให้ยาตามสาเหตุของโรคท้องเสียอาจใช้เวลา 3 – 7 วัน กว่าอาการท้องเสียจะหายขาดแล้วเป็นปกติตามเดิม ช่วงที่เด็กถ่ายอุจจาระมากไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวเท่าไหร่ สิ่งที่น่ากลัวที่สุด คือ เด็กต้องได้รับน้ำอย่างเพียงพอเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการขาดน้ำขั้นรุนแรง อันตรายจากท้องเสียอันตรายจากท้องเสียที่สำคัญที่สุด คือ การที่ร่างกายเสียสารน้ำและเกลือแร่ ซึ่งมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน ในกรณีที่การเสียสารน้ำและเกลือแร่อยู่ในขั้นรุนแรงจะเป็นอันตรายมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าได้รับการแก้ไขไม่ทันท่วงที
ถ้ายังมีอาการท้องเสียไม่หยุด มีอาการไข้ร่วมด้วย และเด็กอายุน้อยกว่า 2 เดือน ควรไปพบแพทย์ทันที ถ้าเด็กอายุมากกว่า 2 เดือน มีไข้ และท้องร่วงมากกว่า 1 วัน ให้วัดอุณหภูมิร่างกาย และตรวจปริมาณของปัสสาวะ จากนั้นให้ขอคำปรึกษาจากแพทย์เพื่อรับคำแนะนำ
สำหรับเด็กทุกช่วงอายุ ถ้าท้องเสียแล้วพบว่ามีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยดังแสดงข้างล่างนี้ ควรปรึกษาแพทย์ทันที
- มีเลือดปนมา มีมูกเลือดปนมา ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำ
- มีอาการขาดน้ำ
- มีไข้นานมากกว่า 24–48 ชั่วโมง
- อาเจียนติดต่อกันนานมากกว่า 12–24 ชั่วโมง
- อาเจียนเป็นสีเขียว มีเลือดปน และอาจพบว่ามีกากเหมือนกาแฟ
- ช่องท้องบวม หรือ ร้องปวดท้องหลายครั้ง
- ปฏิเสธที่จะรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำ
- มีผื่นขึ้นตามร่างกาย
- ตัวเหลืองและตาเหลือง
การรักษาอาการท้องเสีย
ถ้าเริ่มมีอาการใน 4-6 ชั่วโมงแรก อาจซื้อผงเกลือแร่สำเร็จรูปจากร้านขายยามาลองรับประทานดูก่อน หรืออาจจะเตรียมเองที่บ้านก็ได้ โดยใช้น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ เกลือป่น 12 ช้อนชา เติมน้ำสะอาด 1 ขวดกลม การรักษาที่สำคัญและจำเป็นที่สุดคือการได้รับน้ำ และเกลือแร่ทดแทน ในช่วงที่มีอาการท้องเสียควรรับประทานอาหารอ่อนหรืออาหารเหลว เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก ไม่ควรงดรับประทานอาหารเพราะจะทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่มีแรงถ้าเป็นไม่มาก หลังดื่มน้ำเกลือแร่แล้วผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น แต่ถ้าดื่มน้ำเกลือแร่ไม่ได้ ยังคงอาเจียน มีไข้สูง กระหม่อมหนาบุ๋ม เด็กมีในตาลึกโหล หายใจหอบ ปัสสาวะน้อยลง เพราะขาดน้ำอย่างรุนแรง ควรรีบนำเด็กไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพราะผู้ป่วยอาจเกิดภาวะช็อค และเสียชีวิตได้ สำหรับยาที่ช่วยให้หยุดถ่ายหรือที่มักจะเรียกกันว่ายาแก้ท้องเสีย เช่น diphenoxylate, loperamide สามารถใช้ได้เฉพาะผู้ที่ท้องเสียธรรมดาเท่านั้น ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่สงสัยว่าเกิดอาการท้องเสียเนื่องจากติดเชื้อ หรือได้รับสารพิษจากเชื้อ เนื่องจากยาที่ทำให้หยุดถ่ายจะทำให้ลำไส้บีบตัวได้น้อยลงทำให้ความถี่ของการ ถ่ายลดลง และผู้ป่วยอาจคิดว่าอาการดีขึ้น แต่ความจริงแล้วเชื้อหรือสารพิษจากเชื้อจะอยู่ในร่างกายได้นานขึ้นจึงทำให้ หายจากอาการท้องเสียได้ช้าลง ดังนั้นหากสงสัยว่าท้องเสียแบบติดเชื้อหรือได้รับสารพิษจากเชื้อ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อจะได้รับยาฆ่าเชื้อหรือยาดูดซับสารพิษที่เหมาะสม
หากเด็กเล็กๆหรือผู้สูงอายุเกิดอาการท้องเสียและได้ทำการรักษา เบื้องต้นไปแล้วแต่อาการไม่ดีขึ้น ควรนำส่งแพทย์โดยเร็วและถ้าผู้ป่วยยังรู้สึกตัวและรับประทานได้ควรให้ดื่ม น้ำเกลือแร่ในระหว่างทางด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการขาดน้ำอย่างรุนแรง และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ควรงดให้น้ำดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำผลไม้ หรือเครื่องดื่มที่มีความหวาน เพราะว่าจะทำให้อาการท้องเสียแย่ลงกว่าเดิม
อาหารที่แนะนำให้บริโภคควรจะมีส่วนผสมของถั่ว เนื้อ ปลา ไข่ ผักต้มสุก กล้วย หรือธัญพืชต้มสุก แนะนำให้เด็กบริโภคอาหารมื้อย่อยๆดีกว่าเป็นมื้อหลักใหญ่
0 comments